วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

Tartarus.

ในเทพปกรณัมคลาสสิก เบื้องล่างของยูเรนัส ไกอาและพอนตัส ทาร์ทารัส หรือ ทาร์ทารอส (กรีกโบราณ: Τάρταρος แปลว่า "สถานที่ลึก") เป็นหลุมลึกหรือห้วงอเวจีที่ลึกและมืดหม่นไม่มีที่สิ้นสุด ถูกใช้เป็นสถานที่คุกมืดสำหรับทรมานและทำให้ได้รับความเจ็บปวดซึ่งอยู่ใต้โลกบาดาลเป็นที่ที่ซุสใช้เคียวของโครนอสสับโครนอสผู้เป็นบิดาเป็นพันชิ้นแล้วโปรยลงไปในนรกทาร์ทารัสตามตำนานกรีก ในกอร์จิอัส ผลงานของเพลโต (ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เขียนไว้ว่า
เช่นเดียวกับสิ่งดั้งเดิมอื่น ๆ (เช่น โลกและเวลา) ทาร์ทารัสเองก็เป็นอำนาจหรือเทพที่มีมาแต่ดั้งเดิมด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

Athena

                                           
                                                   
อธีนา
            เทพีอธีนา (Athena) หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของซุส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮฟเฟสตุส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวาน ผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอก กระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีเมทิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซูสโดยตรง
            และนอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา โดยที่ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา(Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีส ที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า
            นอกจากนี้ อธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนางอาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และเฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

Metis

เมทิส
          เมทิส เป็นนางนิมฟ์ ที่ดูแลซุส ตั้ง แต่ซุสยังเด็ก หลังจากที่พระนางจีอา (ไกอา) พระแม่ธรณีได้ลักลอบนำไปซุสไปทิ้งไว้บนเกาะ แล้วให้เหล่านิมฟ์ต่างๆ ช่วยกันดูแล เมื่อซุสโตขึ้น เขาก็ได้ครองรักกับนางเมธิส และนางเมธิสนี่เองคือบุคคลที่ปรุงน้ำยาสมุนไพรที่โครนัส ดื่ม แล้วสำรอกพี่ๆ ของซุสออกมาจากท้อง แต่เนื่องจากหลังจากที่โครัสพ่ายแพ้แก่ซุส เขาได้สาปแช่งเอาไว้ว่าลูกของซุสที่เกิดจากนางเมธิสจะเป็นผู้สังหารซุสก่อน จะหนีไป ซุสบังเกิดความหวาดกลัวจึงจับนางเมธิสกลืนลงท้อง เมื่อครบ เดือน ซุสก็ปวดเศียรเป็นอย่างมาก ทันใดนั้น "เทพีอธีนา" ก็กำเนิดขึ้นโดยการแหกเศียรของซุสออกมา (บางตำนานว่าเฮเฟสตัส เทพแห่งการช่าง เป็นผู้ใช้อาวุธจามเศียรซุส อธีนาจึงได้ออกมา)
            สรุปได้ว่านางเมธิสเป็นชายาคนแรกของซุสและเป็นแม่ของอธีนานั่นเอง

Medusa


ในตำนานของกรีกนั้น เมดูซา (อังกฤษMedusa) เป็นผู้หญิงที่มีผมเป็นงู และเมื่อมีคนมองมาที่ใบหน้าเธอ (จ้องตา) คนผู้นั้นจะกลายเป็นหิน ที่จริงแล้วก่อนที่เมดูซาจะมีความร้ายกาจดังที่เป็นที่เล่าขานกันมานั้น เมดูซานั้นเป็นหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงามมาก เมดูซา เป็นลูกสาวของเทพแห่งท้องทะเล ฟอซิส และนางซีโต นางถือเป็นหลานของเทพีไกอาและเทพพอนทัส มีพี่น้องคือ สเธโน ยูริอาลี และกราเอีย
เรื่องเริ่มขึ้นจากเพอร์ซิอุสวีรบุรุษอีกผู้หนึ่งของชาวกรีก เพอร์ซิอุสได้รับคำสั่งจากกษัตริย์ใจร้ายที่พยายามหาทางกำจัดเขาเพื่อจะได้แต่งงานกับมารดาของเขา โดยให้ไปสังหารเมดูซาซึ่งเป็นน้องคนสุดท้องของสามพี่น้องตระกูลกอร์กอน เล่ากันว่าครั้งหนึ่งเมดูซาเคยเป็นสาวงาม แต่เพราะโดนโพไซดอน เทพแห่งท้องทะเลขืนใจ ในวิหารของเทพีอธีนา เทพีอธีนาจึงกล่าวหาว่าเมดูซาลบหลู่นาง ดังนั้นนางจึงโดนสาปให้กลายเป็นหญิงอัปลักษณ์ มีผมเป็นงู และมีดวงตาเป็นอำนาจลึกลับหากผู้ใดจ้องมองจะกลายเป็นหินทันที เชื่อกันว่า บรรดารูปปั้นหินชายและหญิงจำนวนมากที่ถูกทิ้งไว้เกลื่อนกลาดตามแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นส่วนหนึ่งของผู้โชคร้ายที่มาพบเห็นเมดูซานั่นเอง
ในบรรดาสามพี่น้องตระกูลกอร์กอนนี้ มีเพียงเมดูซาเท่านั้นที่ไม่เป็นอมตะ คือถูกฆ่าตายได้ แต่นับเป็นเรื่องที่ยากที่จะมีใครทำได้โดยไม่กลายเป็นหินเสียก่อน ทั้งสามอาศัยอยู่ในถ้ำลึกบนเกาะแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างไกล ถ้ำนี้ล้อมรอบไปด้วยหินจำนวนมากที่ครั้งหนึ่งนั้นเคยเป็นมนุษย์และสัตว์ที่มีชีวิตจิตใจ
เมื่อเพอร์ซิอุสได้รับคำสั่งให้ไปกำจัดเมดูซา เขาจำเป็นต้องหาที่อยู่ของนางเสียก่อน เพอร์ซิอุสจึงไปถามจากหญิงชราสามคนที่มีตาเพียงดวงเดียว ดวงตานี้มีอำนาจมองเห็นไกลทั่วโลก ในขณะที่หญิงชราทั้งสามถกเถียงกันเพื่อจะแย่งดวงตานี้มาใช้เพอร์ซิอุสแอบขโมยดวงตาไป ทำให้ทั้งสามมองไม่เห็นหญิงชราทั้งสามจึงจำต้องบอกที่อยู่อของเมดูซาให้แก่เพอร์ซิอุสเพื่อแลกกับการดำรงชิวิตของพวกตน
จากนั้นเพอร์ซิอุสจึงเดินไปยังที่อยู่ของเมดูซา ซึ่งเขามีเทพเฮอร์เมสและเทพอธีนาคอยให้ความช่วยเหลือ โดยมอบดาบวิเศษพร้อมโล่เอจีส หมวกล่องหน รองเท้าติดปีก และย่ามวิเศษ ให้เขานำติดตัวไปด้วย คืนหนึ่งในขณะที่เมดูซากำลังหลับสนิท เพอร์ซิอุสแอบเข้าไปในถ้ำ เขาใช้โล่ที่ขัดเป็นเงาราวกระจกส่องดูเงาสะท้อนของเมดูซา เพื่อหลีกเลี่ยงการมองของนางโดยตรง จากนั้นเขารีบใช้ดาบวิเศษตัดศีรษะของนาง แล้วโยนใส่ลงในย่ามวิเศษ
ทันทีที่หยดเลือดหลั่งรินออกมาจากบาดแผลของเมดูซา เพกาซัส ม้ามีปีกสีขาวก็ถือกำเนิดขึ้นมา สองพี่น้องของเมดูซาซึ่งเป็นอมตะ พยายามจะทำร้ายเพอร์ซิอุส แต่เขาใช้หมวกล่องหนและรองเท้าติดปีกช่วยให้ตนเองหลบหลีกออกไปได้ เมื่อเพอร์ซิอุสกลับไปถึงเมืองของกษัตริย์ใจร้ายที่เป็นผู้มอบหมายให้ไปกำจัดเมดูซา เขามอบศีรษะของเมดูซาให้แก่กษัตริย์พระองค์นั้น ซึ่งทำให้พระองค์กลายเป็นหินไปในทันทีที่ทอดพระเนตร
ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าเส้นผมที่เป็นงูของเมดูซานี้สามารถป้องกีนการปองร้ายของเหล่าปิศาจได้เป็นอย่างดี ในภายหลังเพอร์ซิอุสได้นำศีรษะของเมดูซาถวายแด่เทพีอธีนาผู้ช่วยเหลือเขามาตั้งแต่แรก เทพีอธีนานำเพกาซัสไปยังยอดเขาโอลิมปัสซึ่งเป็นสถานที่พำนักของเหล่าเทพโอลิมเปียน และมอบให้อยู่ในการดูแลของเทพธิดามิวส์ทั้งเก้าองค์ซึ่งเป็นเหล่าเทพธิดาผู้ดลใจให้ความคิดสร้างสรรค์แก่นักศิลปะทั้งมวล เพกาซัสเป็นม้าที่องอาจปราดเปรียว ไม่ยอมให้ผู้ใดขี่หรือแตะต้อง มีแต่เทพธิดามิวส์เท่านั้นที่เข้าใกล้ได้

Salamander

ซาลามานเดอร์
          ซาลามานเดอร์ (Salamanderการบรรยายซาลามานเดอร์ก็เช่นเดียวสัตว์ที่มีจริงที่นักเขียนในสมัยโบราณจะให้คำบรรยายอุปมานิทัศน์ของลักษณะอย่างเลิศลอยในสัตว์ตำนาน (Bestiary) ของยุคกลาง และเมื่อไม่นานมานี้นักเขียนบางคนก็สรุปว่าซาลามานเดอร์ในตำนานเป็นสัตว์ที่ แตกต่างจากซาลามานเดอร์ที่มีอยู่จริง ความคิดนี้แพร่หลายในหมู่สิ่งลึกลับ คำบรรยายของลักษณะรูปทรงของซาลามานเดอร์ในตำนานคล้ายกับซาลามานเดอร์ธรรมชาติ ที่มีรูปทรงคล้ายกิ้งก่า แต่มักจะมีความเกี่ยวข้องกับไฟโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธาตุไฟ
ซาลามานเดอร์ในตำนานเป็นสัตว์ที่ปรากฏในตำนานคลาสสิก ตำนานยุคกลาง และตำนานยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา และเป็นสัตว์ที่นิยมใช้กันเป็นเครื่องหมายในตราอาร์มหรือตราแผ่นดิน

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

Aphrodite


                                          อโฟร์ไดร์ (Aphrodite) หรือ วีนัส (Venus)
เทพีวีนัส (อังกฤษVenus) เป็นเทพีแห่งเทพปกรณัมโรมันที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรักและความงาม หรืออีกชื่อคือ อโฟรไดท์ (Aphrodite) แห่งเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นชายาของเทพวัลคัน (Vulcan) หรือเฮฟเฟสตุส เทพแห่งงานช่าง เทพีวีนัสตามตำราว่าเกิดขึ้นเองจากฟองทะเล ด้วยพระนามของพระนาง อะโฟรไดท์ นั้น มาจากคำว่า 'Aphros'ที่แปลว่าฟอง ซึ่งมีตำนานว่าพระนางเกิดในทะเลใกล้เกาะไซเธอรา และถูกคลื่นซัดไปยังเกาะไซปรัส แต่บางตำราว่าเป็นธิดาของเทพซุสที่เกิดจากจากนางอัปสรไดโอนี แต่ที่ตรงกันคือพระนางมีความงดงามที่ไม่มีใครเทียมได้แม้กระทั่งเทพธิดาด้วยกัน และสามารถสะกดใจผู้ชายทุกคนได้ภายในพริบตาแรกที่มองเห็นพระนาง อีกทั้งพระนางก็ชอบใจในความสวยงามของตนเองมากเสียด้วย พระนางจึงไม่ยอมเด็ดขาดหากใครจะกล้าล้ำเส้นเทพีความงามของพระนาง ด้วยแรงริษยาที่รุนแรงพอๆกับรูปโฉมสะสวยทำให้เทพีวีนัสเป็นที่หวาดหวั่นของเทพหลายๆองค์
ในวันแรกที่เทพีวีนัสปรากฏตัวบนเขาโอลิมปัส เทพชายทุกองค์โดยเฉพาะเทพซุสเองก็อยากได้พระนางมาครอบครอง แต่เทพีวีนัสไม่ใช่หญิงสาวเรียบร้อยหัวอ่อนว่าง่าย ทำให้เทพซุสเกิดความโมโหและแก้เผ็ดพระนาง โดยจับพระนางแต่งงานกับเทพวัลแคนพระโอรสของพระองค์ ซึ่งเทพวัลแคนชอบขลุกอยู่ในโรงงาน ก่อสร้าง และประดิษฐ์สิ่งต่างๆเนื้อตัวมอมแมม แถมยังเป็นเทพขาเป๋ ทำให้เทพีวีนัสโกรธเคืองอย่างมาก แต่พระนางก็กล้าทำในสิ่งที่เทพีอื่นๆ ไม่กล้า นั่นคือการคบชู้สู่ชายแบบตามใจชอบ ดังเช่น
  • เทพอาเรส เทพแห่งสงคราม โอรสอีกองค์ของเทพซุสและเป็นน้องชายร่วมท้องของเทพวัลแคน ด้วยความที่มีรูปร่างหน้าตางดงามหล่อเหลา ทำให้ทั้งสองเทพเทพีเกิดรักใคร่กันในใจเงียบๆแต่แรกเจอ แต่เมื่อเทพีวีนัสถูกจับคลุมถุงชน ทั้งสองจึงยอมอยู่กินกันแบบชู้รักอย่างมีความสุข กระทั่งมีพยานรักด้วยกันถึง 4 องค์ คือ
    • คิวปิด กามเทพ เทพเจ้าแห่งความรัก มีชายาเป็นคู่แค้นเก่าของมารดานามว่า เทพีไซคี และมีธิดาหนึ่งองค์กับพระชายา นามว่า เดลิซิโอ
    • แอนตีรอส โอรสองค์รอง เป็นเทพเจ้าแห่งการรักตอบ
    • ฮาร์โมเนีย หรือ เฮอร์ไมโอนี ธิดาองค์ที่สาม ซึ่งเทพอาเรสยกให้แต่งงานกับแคดมัส ผู้ก่อตั้งเมืองธีบส์ โดยเทพอาเรสไม่รู้เลยว่า พระองค์ได้สาปแช่งแคดมัสไว้ ธิดาองค์นี้ในที่สุดก็กลายร่างเป็นงูตามสวามี และลูกหลานสืบต่อมาจึงประสบกับชะตาอันน่าเศร้า อย่างที่รู้จักกันดีคือ โอดิปุส ผู้ซึ่งฆ่าพ่อของตนและได้แม่เป็นภรรยา
    • อัลซิปเป ธิดาองค์สุดท้อง มีรูปโฉมงดงามจนถูกโอรสเทพโพไซดอนลักพาตัวไป ท้ายสุดเทพอาเรสตามชิงธิดากลับมาได้ และฆ่าโอรสเทพโพไซดอนตาย เทพโพไซดอนโกรธเคืองมากถึงขนาดต้องขึ้นศาลกับเทพอาเรส แต่ท้ายที่สุดเทพอาเรสชนะความ
  • เทพเฮอร์มีส ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดากับเทพอาเรสและเทพวัลแคน เป็นเทพแห่งการติอต่อสื่อสาร การโกหก และการขโมย ทั้งสองมีโอรสชายด้วยกันหนึ่งองค์คือ เฮอร์มาโฟไดทัส แต่ภายหลังก็กลายเป็นเทพสองเพศ เพราะมีนางอัปสรชื่อ ซาลมากิส มาหลงรักเฮอร์มาโฟไดทัส ทว่าเขาไม่ไยดีต่อนางเลย นางจึงวิงวอนแก่เทพเจ้าให้นางได้ติดตามเขาไปทุกที่ ท้ายสุด นางซาลมากิสก็ถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเฮอร์มาโฟไดทัสตามแรงอธิษฐาน ทำให้เฮอร์มาโฟไดทัสมีสองเพศนับแต่นั้นมา
  • อาโดนิส ชายรูปงามซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดอกกุหลาบ เล่ามาว่า ครั้งหนึ่งในป่าใหญ่ ขณะเทพีวีนัสกำลังประพาสป่า เกิดพบต้นไม้ใหญ่งดงามต้นหนึ่งหักโค่นลง และภายในมีเด็กชายหน้าตาน่ารักอยู่ พระนางจึงรับเด็กชายไว้และตั้งชื่อเขาว่า อาโดนิส พระนางฝากเทพีเพอร์เซโฟนี่มเหสีแห่งเทพฮาเดสดูแล จนกระทั่งเวลาล่วงเลยผ่านมา เทพีวีนัสบังเอิญถูกศรรักของโอรสสะกิดจนเป็นแผลเล็ก และเวลาประจวบเหมาะกับที่อาโดนิสเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วมาปรากฏตรงหน้าพระนาง ทำให้เทพีวีนัสหลงรักอาโดนิสปักใจ และขออาโดนิสคืนจากเทพีเพอร์เซโฟนี่ แต่องค์เทพีไม่ยินยอมด้วยความผูกพันที่มีต่อชายหนุ่ม ทั้งสองเทพีจึงเกิดเบาะแว้งกันใหญ่โต เทพซุสจึงตัดสินให้อาโดนิสสามารถอยู่กับเทพีวีนัสสี่เดือนบนโลกมนุษย์ อยู่อีกสี่เดือนในยมโลกกับเทพีเพอร์เซโฟนี่ และอีกสี่เดือนอาโดนิสจะอยู่ที่ไหนก็ได้ตามใจ (บางตำราก็ว่า แบ่งระหว่างสองเทพีองค์ละ 6 เดือน) แต่เทพอาเรสหึงหวงชายา(ลับ)ของตนมาก จึงแปลงเป็นหมูป่าที่อาโดนิสชอบล่าลวงเขาเข้าป่าไปและฆ่าทิ้ง เทพีวีนัสเสียใจมากที่พบแต่ศพของชายคนรัก พระนางจึงเนรมิตดอกไม้งามขึ้นมาจากเลือดของอาโดนิส ซึ่งเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แห่งความรัก ดอกกุหลาบนั่นเอง
  • แอนไคซีส แอนไคซีสเป็นมนุษย์ธรรมดา เป็นบุตรเขยของท้าวอิลัสปู่ของท้าวเพรียมฝ่ายทรอย ทั้งๆที่เขามีชายาอยู่แล้ว แต่เทพีวีนัสก็หลงใหลในตัวของแอนไคซีสมาก พระนางแปลงตัวมาเป็นนางอัปสรประจำเขาไอดา และหาโอกาสใกล้ชิดกับแอนไคซีส จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ อีเนียส วีรบุรุษฝ่ายทรอยในสงครามทรอย ผู้ก่อตั้งอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่ เป็นต้น

Nemesis.


เนเมซิส เป็นเทพี แห่งการล้างแค้น ความผิดและกรรมชั่ว
ความผิดทั้งหลายสมควรต้องได้รับโทษตอบแทน จึงจะชอบด้วยความยุติธรรม ชาวกรีกและโรมันคิดเช่นนี้ และเห็นว่าความพยาบาทหรือการล้างแค้นอันชอบธรรมก็เป็นกิจที่เทพเจ้าพึงบำเพ็ญต่อมนุษย์เช่นกัน เขาจึงแต่งตั้งเทพีแห่งความพยาบาทหรือการสนองกรรมขึ้นโดยมีนามว่า "เนเมซิส (Nemesis)"
เนเมซิส เป็นเทพีสาวที่ออกมาลงโทษคนที่ทำผิดศีลธรรมทำกรรมชั่ว คนที่หยิ่งผยอง หรือคนที่ปฏิเสธพรของเทพเจ้า หรือไม่ก็คนที่เห็นแก่ตัวไม่ยอมเอื้อเฟื้อแก่คนอื่น แต่จะให้ผลตอบแทนที่ดีแก่คนดีและผู้ทรงคุณธรรมทั่วไป และคนที่ต้องการล้างแค้นจึงจะมาให้เทพีเทเมซิสช่วยล้างแค้นให้ด้วย
เนเมซิส เป็นลูกสาวของ นิกซ์ (Nyx) เทพีแห่งรัตติกาล หรือราตรีเขาว่ากันว่าบิดาของเธอคือ โอเชียนัส(Oceanus) เนเมซิสนั้นได้ชื่อว่าสวยพอๆ กับ อโฟรไดท์ (Aphrodite) เทพีแห่งความงามและความรัก ความสวยของเธอไปเข้าตาของจอมเทพซุส (Zeus) เข้า แต่เนเมซิสไม่อยากจะไปยุ่งเกี่ยวกับซุส เธอก็เลยแปลงร่างหนีทุกครั้งที่เธอเห็น ซุสเข้ามาใกล้ บางตำราก็บอกว่าสุดท้ายเธอแปลงร่างเป็นห่าน แต่ซุส รู้ทันแปลงร่างเป็นหงส์และจับคู่กับเธอ เนเมซิสวางไข่ไว้ในกอหญ้า 1 ฟอง คนเลี้ยงแกะมาพบไข่ฟองนี้เข้าจึงนำไปถวายพระนางลีดา (Leda) พระองค์เก็บไข่ฟองนั้นเอาไว้ในกล่อง และเมื่อเด็กน้อยฟักออกมาจากไข่ นางลีดาก็ให้ชื่อว่า"เฮเลน"และเลี้ยงดูเด็กคนนั้นเหมือนเป็นบุตรีของตนเอง หนูน้อยเฮเลนคนนี้เมื่อโตขึ้นมาก็คือแม่สาวที่ทำให้เกิดสงครามกรุงทรอย (Trojan War) ขึ้น
บางตำรากล่าวว่า ซุสหลงรักเนเมซิส แต่เมื่อเนเมซิสไม่ยอม พระองค์ก็เลยไปขอความช่วยเหลือจากอโฟรไดท์ ให้อโฟรไดท์แปลงร่างเป็นนกอินทรีเข้าโจมตีตัวเองที่แปลงร่างเป็นหงส์ หงส์ปลอมก็ทำเป็นบินร่อแร่มาหา เนเมซิสใจดีอุ้มหงส์เจ้าเล่ห์เอาไว้ พอเนเมซิสหลับ ซุสในร่างหงส์ก็มีความสัมพันธ์กับเธอ พอเนเมซิสคลอดก็คลอดลูกออกมาเป็นไข่ เทพเฮอร์มีส (Hermes) ก็รีบมาเอาไข่นั้นไปที่เมืองสปาร์ตา (Sparta) แล้วโยนไข่ฟองนั้นไปที่ตักของพระนางลีดา แล้วเฮเลน ก็กระโดดออกมาจากไข่ใบนั้นนั่นเอง (แต่ส่วนใหญ่กล่าวว่าเฮเลนเป็นพระธิดาของพระนางลีดาเอง)
แต่บางตำรากล่าวถึงเนเมซิสแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง คือบอกว่า รูปลักษณะของเทพีองค์นี้เป็นหญิงที่มีหน้าตาแสดงความเหี้ยมเกรียม ถืองาและล้อเกวียณ บางทีก็มีปีกด้วย แสดงว่าองค์เทพีเนเมซิสจะตามตอบแทนผู้ทำความผิดไปทั่วทุกหนทุกแห่งอย่างไม่ลดละ ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำหรือบก ดังที่งาและล้อเกวียณเป็นเครื่องหมายแสดงอยู่
ที่กรุงโรมมีรูปอนุสาวรีย์ของเทพีเนเมซิสประดิษฐานอยู่ในรัฐสภาทีเดียว เมื่อจะประกาศเมื่อจะประกาศศึกต่อศัตรู จะมีพิธีบวงสรวงพระนางก่อน เพื่อให้เป็นที่ปรากฏว่า พวกเขาทำศึกโดยเหตุผลอันชอบธรรมที่สุดเสมอ

Artemis


อาร์ทิมิส (อังกฤษArtemisเสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈɑːtɪmɪs, ˈɑːrt̬əmɪs/) หรือในภาคโรมันคือไดแอนา (อังกฤษDiana) คือเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ เทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเทพีแห่งความรักทางใจ ตำนานการกำเนิดกล่าวว่าเป็นธิดาฝาแฝดของเทพซุสกับนางอัปสร ลีโต (Leto) หรือแลโตนา (Latona) มีพี่ชายร่วมอุทรคือ เทพอะพอลโลซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ และการดนตรี
เทพฝาแฝดทั้งสองถูกปองร้ายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะเทพีเฮราซึ่งเป็นมเหสีเอกของเทพซุสเกลียดชังชายาน้อยของสวามีจึงลามไปถึงบุตรที่เกิดจากอนุเหล่านั้นด้วย เมื่อรู้เรื่องของนางลีโต พระนางจึงสาปแช่งนางลีโตว่าจะไม่สามารถคลอดบุตรบนแผ่นดินใดได้ อีกทั้งยังส่งงูร้าย ไพธอน (Python)ตามฉกกัดนางลีโตตลอดเวลา นางลีโตประสบเคราะห์กรรมอย่างน่าสงสารเพราะไปที่ใดก็ไม่มีใครต้อนรับด้วยกลัวเกรงอาญาของเทพีเฮรา ทั้งต้องหลบหนีงูร้ายจนอยู่ไม่เป็นสุข และเทพซุสก็กลัวเทพีเฮราเกินกว่าจะช่วยเหลือนางลีโตกับบุตรในครรภ์
กระทั่งครบกำหนดครรภ์ นางลีโตเจ็บปวดทุกข์ทรมานปางตายเพราะไม่อาจคลอดบุตรได้ ทำให้เทพโพไซดอนเกิดความสงสาร จึงบันดาลเกาะดีลอส (Delos)ให้โผล่ขึ้นกลางทะเล ไม่ติดต่อกับแผ่นดินใด นางลีโตจึงพ้นคำสาป จนกระทั่งสามารถประสูติเทพฝาแฝด เทพอะพอลโล และเทพีอาร์เทอมิส ออกมาอย่างปลอดภัย
ทันทีที่ประสูติออกจากครรภ์ เทพอะพอลโลก็ฆ่างูไพธอนตาย จนได้นามอีกว่า ไพธูส เมื่อเทพทั้งสองประสูติ เทพบิดาซุสจึงอัญเชิญเทพทั้งสองขึ้นเป็นเทพบนเขาโอลิมปัส และคลายความหมางใจระหว่างเทพีเฮรากับเทพฝาแฝดจนเป็นผลสำเร็จ

helen


เฮเลนแห่งทรอย (เฮเลนแห่งสปาร์ตา)

เฮเลน (Helen) คือหญิงสาวผู้เป็นชนวนศึกในสงครามเมืองทรอย ปกรณัมเก่าแก่ของกรีก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานมหากาพย์อีเลียด และโอดิสซีย์ ส่วนใหญ่มักเรียกชื่อนางว่า เฮเลนแห่งสปาร์ตา หรือ เฮเลนแห่งทรอย นางเป็นบุตรีของเทพซูสกับนางลีดา มีพี่ชายคือแคสเตอร์ พอลลักซ์ และ คลีเทมเนสตรา
เมื่อเฮเลนเติบโตถึงวัยวิวาห์ บิดามารดาได้จัดพิธีเลือกคู่ให้แก่นาง โดยมีกษัตริย์ เจ้าชาย และนักรบจากเมืองต่างๆ ทั่วแคว้นกรีกมาร่วมงาน ได้แก่ โอดิซูส เมเนสทีอัส ไดโอมีดีส อจักซ์ ปโตรกลัส เมนนิเลอัส และ อักกะเมมนอน นางเลือกเมนนิลิอัสเป็นคู่วิวาห์ ส่วนกษัตริย์อื่นต่างให้สัญญาว่าจะคอยช่วยปกป้องนาง
เฮเลนมีชื่อเสียงว่าเป็นหญิงงามไม่อาจหามนุษย์ผู้ใดเทียบได้ เมื่อครั้งปารีสแห่งทรอย เป็นผู้ตัดสินความงามระหว่างเหล่าเทพี อโฟรไดท์สัญญา ว่าจะให้นางเฮเลนแก่เขา หากเขาเลือกให้พระนางเป็นเทพีผู้งามที่สุด เหตุนี้ปารีสจึงมาชิงตัวเฮเลนไปเสียโดยความช่วยเหลือของเทพเจ้า แล้วพานางหนีกลับไปเมืองทรอย ทำให้เหล่ากษัตริย์ที่ได้ให้สัตย์ไว้ต่อเมนนิลิอัส ต้องยกทัพมาช่วยเหลือเพื่อชิงนางเฮเลนกลับคืน

Hades


เฮดีส
            เฮดีส (Hadesในที่ชาวโรมัน เรียกว่า พลูโต (Pluto) เทพเจ้าผู้ปกครองนรก และโลกหลังความตาย ในตำนานถือว่ามีศักดิ์เป็นพระเชษฐาของ ซุส ราชาแห่งเหล่าเทพ และยังถือได้ว่าเป็นเจ้าแห่งทรัพย์เพราะเทพเฮดีสมีสิทธิ์ในทรัพย์สิน ทุกอย่างภายใต้พื้นพิภพ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดีส (Dis) ซึ่งแปลตรงตัวว่า ทรัพย์สิน
            เฮดีส แท้ที่จริงแล้วเป็นเทพที่มีความยิ่งใหญ่อีกองค์หนึ่งเช่นเดียวกับซูส หรือ โพไซดอน เนื่องจากเป็นพี่น้องกัน แต่ทว่าความที่เฮดีสเป็นผู้ปกครองนรกซึ่งเป็นโลกใต้ดินซึ่งมีแต่ความมืดมิด และน่ากลัว จึงไม่ใคร่ขึ้นไปยังเขาโอลิมปัส อีกทั้งเทพองค์อื่น ๆ ก็ไม่ใคร่ที่จะต้อนรับเฮดีสด้วย ดังนั้น เฮดีสจึงไม่มีชื่อเป็นหนึ่งในเทพโอลิมปัส เฉกเช่นองค์อื่น ๆ
            เฮดีส ได้ชื่อว่าเป็นเทพที่มีความเที่ยงธรรมอย่างมาก ตัดสินความดีชอบของคนตายโดยปราศจากอคติ ใด ๆ ทั้งสิ้น กล่าวกันว่า พระองค์มีหมวกวิเศษอยู่ใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมหายตัวได้ ซึ่งในครั้งที่ทำสงครามกับเหล่าไททันส์นั้น เฮดีสใช้หมวกนี้ลอบเข้าไปทำลายอาวุธของไททันส์ก่อนการต่อสู้ และพระองค์มีเทพผู้ช่วยในการตัดสินความดีชั่วในยมโลกอีก องค์คือ ราดาแมนทีสไมนอสไออาคอส ที่เรียกว่า สามเทพสุภา และยังมีฮิปนอส เทพแห่งการหลับไหล และ ทานาทอส เทพแห่งความตาย คอยช่วยอีก
            เฮดีส มีชายาองค์หนึ่งชื่อ เพอร์ซิโฟเน (Persephone) ซึ่งเป็นพระธิดาองค์เดียวของ ดีมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และการเกษตร จากความงดงามของนางเพอร์ซิโฟเน ทำให้เฮดีสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า นางที่แท้จริงคือหลานสาวแท้ ๆ ของตน เพราะว่า ดีมิเทอร์มีศักดิ์เป็นพระขนิษฐาของพระองค์เอง เมื่เฮดีสได้ฉุดนางไปเป็นเทพีแห่งนรกคู่กัน ทำให้เกิดเป็นกรณีพิพาทขึ้นระหว่างทวยเทพแห่งโอลิมปัส ซูสซึ่งเป็นองค์ประธานได้ตัดสินให้เฮดีสต้องคืนเพอร์ซิโฟเนแก่ดิมิเทอร์ เฮดีสก็ใช้อุบายลวงให้นางต้องมาหาตนปีละ เดือนทุกปีไป ดังนั้นในปึหนึ่ง ๆ เฮดีสจึงต้องประทับอยู่อย่างเดียวดายนานอยู่ถึง เดือน แต่ทั้งที่ต้องประทับอยู่อย่างเดียวดายนานถึงปีละ เดือน เฮดีสก็พิสูจน์องค์เองว่าเป็นพระสวามีที่ซื่อสัตย์
            ชาวกรีกโบราณจะถวายการสักการะแด่เฮดีสด้วยแกะดำ และเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบมาที่ได้ค่อนข้างยาก แต่ก็สืบทอดกันมาว่า หากจะบูชาเทพแห่งความตายหรือเทพอันใดที่เป็นสัญลักษณ์ของความน่ากลัวหรือ ชั่วร้าย ต้องบูชายัญ ด้วยแพะ หรือแกะดำ

ไทรทัน
            ไทรทัน (Tritonเป็นชื่อเทพ ในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นโอรสของโพไซดอน เจ้าสมุทร กับแอมฟิไทรท์ มารดาแห่งท้องทะเล ไทรทันเป็นผู้แจ้งข่าว แห่งท้อง ทะเล มีร่างกายเป็นเงือก คือ กายท่อนบนเป็นอย่างกายมนุษย์ท่อนบนทั่ว ๆ ไป ส่วนท่อนล่างเป็นหางปลา
            อาวุธประจำกายของไทรทันคือตรีศูล เช่นเดียวกับบิดา แต่มักปรากฏในศิลปกรรมต่าง ๆ ว่าถือสังข์ ซึ่งเมื่อใช้เป่าดั่งแตร แล้วมีอำนาจบันดาลให้เกิด คลื่นลมในทะเลหรือให้ท้องทะเลสงบลงได้ ว่ากันว่าสังข์ของไทรทันนี้มีเสียงประหลาดชอบกล เมื่อเป่าอย่างแรงแล้วจะบังเกิดเป็นพลยักษ์ เตรียมพร้อมประจัน ซึ่งเชื่อว่าเป็นจินตนาการถึงเสียงคำรามของสัตว์ป่า
            ตามหนังสือ "เทวกำเนิด ของเฮซิออด กวีชาวกรีก ว่า ไทรทันนั้นพำนักอยู่กับบิดา ณ สุวรรณปราสาทซึ่งประดิษฐานอยู่ใต้สมุทร ในขณะที่ตำนานของชาวอาโกนอตส์ ว่า ไทรทันอยู่ตำหนักที่ชายฝั่ง ของประเทศลิเบีย และเมื่อพวกตนได้แล่นเรือไปถึงฝั่งทะเลเลสเซอร์ซีตส์ ก็ได้ใช้ใบต่อไปถึงทะเลสาบไทรทันนิส ณ ที่นั้นปรากฏว่าไทรทันซึ่งเป็นเทพประจำถิ่นได้มาชี้ทางให้สามารถผ่านทะเลเมดิเทอร์เรเนียนได้
            ไทรทันเป็นบิดาของเทพีพัลลัส และเป็นบิดาบุญธรรมของเทพีอะธีนา ต่อมาเทพีทั้งสองเกิดทะเลาะเบาะแว้งและเข้าต่อสู้กัน สุดท้าย เทพีอะธีนาประหารเทพีพัลลัสได้นอกจากนี้ บางทีก็มีการกล่าวว่าไทรทันเป็นบิดาของสกิลลาซึ่งเกิดแค่เทพีลาเมีย และยังเชื่อว่าไทรทันเป็นผู้ครอบครองโคตรเพชรแห่งสมุทรที่ชื่อ "ไทรทันส์ ด้วย
            อนึ่ง ไทรทันยังปรากฏตัวในเทพปกรณัม และมหากาพย์ ของโรมันอีกหลายเรื่อง โดยในมหากาพย์อีนีด มิเซนุส ผู้บรรเลงสังข์ประจำตัวเอนีแอส เหิมเกริมบังอาจขอประลองเป่าสังข์กับเทพไทรทัน ไทรทันจึงจับเขาทุ่มดิ่งลงมหาสมุทรถึงแก่ความตาย
สำหรับชาวโรมันแล้ว นิยมทำรูปปั้นไทรทันไว้คู่กับบ่อน้ำพุ เซ็กส์ทุส พรอเพรอทีอุส กวีโรมัน พรรณนาถึงบ่อน้ำพุที่ประดับด้วยรูปปั้นไทรทันว่า อุดมไปด้วย "ศัพทสำเนียงของกระแสน้ำที่พวยพุ่งตรงออกมาจากโอษฐ์แห่งไทรทันนั้น ซ่านกระเซ็นไปรอบ ๆ บ่อ "
            สมัยต่อมายังมีการบัญญัติศัพท์สำหรับเรียกอมนุษย์ ที่มีลักษณะคล้ายเงือกว่า "ไทรทันเนส" (Tritonesซึ่งคำนี้อาจหมายถึงที่มีเพศผู้หรือเพศเมียก็ได้ ซึ่งปรากฏการบรรยายลักษณะของอมุนษย์ดังกล่าวไว้ในบันทึกของโพซาเนียส นักผจญภัย ว่า "เหล่าไทรทันเนสมีรูปพรรณดังต่อไปนี้ บนศีรษะของพวกมันมีขนคล้ายกับศีรษะของกบ ในหนอง ที่คล้ายไม่ใช่แต่สีสันเท่านั้น แต่การที่สามารถแยกขนเส้นหนึ่งออกจากเส้นได้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่คล้ายคลึง กัน ร่างกายส่วนที่เหลือเป็นแต่ตะปุ่มตะป่ำประดุจปลาฉลาม มีหงอนและจมูกอย่างของมนุษย์อยู่เบื้องล่างหูของพวกมัน แต่ส่วนปากนั้นกว้างใหญ่ และมีฟันแหลมคมอย่างของสัตว์ดุร้าย ดวงตานั้นเล่าข้าพเจ้าก็เห็นเป็นสีฟ้า นอกจากนี้ พวกมันยังมีมือ มีนิ้ว และมีเล็บสัณฐานดั่งเปลือกของทากทะเล ถัดจากแผ่นอกและช่วงท้อง แทนที่จะเป็นขาเยี่ยงคนเรา กลับปรากฏเป็นหางดั่งปลาโลมา"
            ต่อมาหลังยุดฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เป็น ต้นมา มีหลายสิ่งหลายอย่างได้รับการขนานนามตามชื่อของไทรทัน ในจำนวนนั้นได้แก่ พระจันทร์ไทรทัน พระจันทร์ ดวงใหญ่ที่สุดของดาวพระเกตุ หรือดาวเนปจูน การตั้งชื่อนี้เป็นเชิงสัญลักษณ์ ด้วยเนปจูนนั้นเป็นอีกชื่อหนึ่งของโพไซดอน บิดาของไทรทัน
บทร้อยกรองซอนเนต ของวิลเลียม เวิดส์เวิร์ท ชื่อ "เดอะเวิลด์ อิสทูมัชวิทอัส" ( The world is too much with us)รำพันถึงความจำเจอันน่าเบื่อของโลกสมัยใหม่ โดยปรารถนาซึ่ง
สายตาที่พาฉัน                         ลืมวานวันอันทุกข์ทน
ได้เห็นเทวันวน                                   จากชลธารผ่านฉันมา
ได้ฟังเสียงสังข์สวรรค์             จากไทรทันที่ฝันหา
ร่ำแตรแผ่วิญญาณ์                   พาดื่มด่ำปลื้มฉ่ำใจ